Friday, February 5, 2010

กะเม็ง ล้างพิษตกค้างจากไต

กะเม็ง ล้างพิษตกค้างจากไต
ผู้ที่เริ่มเป็นโรคไต ซึ่งถ้าเป็นไม่นาน ต้น “กะเม็ง” ทั้ง 2 ชนิด คือ กะเม็งตัวผู้ กับ กะเม็งตัวเมีย แก้ได้ โดยเอาทั้งต้นแบบแห้งชนิดใดชนิดหนึ่ง จำนวน 1 กำมือ ต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น หรือต้มดื่มแทนน้ำทั้งวันก็ได้ จะช่วยล้างพิษหรือสารตกค้างจากไตจนหมด ทำให้ไตสมบูรณ์ขึ้น ร่างกายก็แข็งแรงตามไปด้วย ไม่มีอาการปวดเมื่อย ผิวกายไม่ตกกระ และยังช่วยชะลอความแก่เพราะไตดีขึ้นนั่นเอง ผิวพรรณสดใสอีกด้วย
กะเม็งตัวผู้ เป็นหญ้ากลีบดอกสีเหลือง อยู่ในวงศ์ COMPOSITAE ทั้งต้นสดหรือแห้ง ต้มหรือทำผงดื่มกินแก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด บำรุงโลหิต คนจีนเรียกอึ้งปั้วกีเชา คนไทยเรียกกะเม็งดอกเหลือง ส่วนกะเม็งตัวเมีย หรือ ECLIPTA PROSTRATA LINN. อยู่ในวงศ์ ASTERACEAE เป็นไม้ล้มลุก ต้นสูงกว่าครึ่งเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว ใบ รากปรุงเป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน รากแก้เป็นลมหน้ามืดจากการคลอดบุตร แก้ท้องเฟ้อ บำรุงตับ ม้าม บำรุงโลหิต ทั้งต้นแก้มะเร็ง (อาการแผลเรื้อรังเน่าลุกลาม รักษายาก) แก้หืด แก้หลอดลมอักเสบ แก้จุกเสียด แก้กลากเกลื้อน เป็นยาฝาดสมาน น้ำคั้นจากต้นใช้รักษาอาการดีซ่านดีมาก

เตยหอม ขับหินปูนตามข้อได้
ตำรายาแผนไทยระบุว่า “เตยหอม” นอกจากมีประโยชน์ทางอาหาร และเป็นสมันไพรรักษาได้หลายอย่างแล้ว ถ้าเอาใบสด จำนวน 4 ใบ พร้อมใบสดรางจืด 8 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร จนเดือดและเคี่ยว 15 นาที ดื่มขณะอุ่นครั้งละครึ่งแก้ว เช้า กลางวัน เย็น จะช่วยขับหินปูนตามข้อต่อให้ออกได้ และทำให้ไม่ปวดข้อเดินได้สะดวกอีกด้วย ต้มดื่มติดต่อกัน 3 วัน เว้น 1 อาทิตกย์ต้มดื่มต่อ และสามารถต้มดื่มได้เรื่อย ๆ ไม่มีอันตรายอะไร
เตยหอม หรือ PANDANUS ODORUS อยู่ในวงศ์ PANDANACEAE นิยมปลูกตามบ้านและมีใบจำหน่ายตามตลาดสดทั่วไป ประโยชน์ทางยาเฉพาะ ใบมีรสเย็นหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยในการทำข้าวกระยาคู ซึ่งใช้ข้าวน้ำนมกับนมสด จะต้องใส่ใบเตยหอมด้วย เมื่อรับประทานแล้ว จะทำให้เกิดกำลัง มีจิตใจผ่องใส ต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัยน้ำ เบาพิการได้ดีมาก
รางจืด หรือ MILLETIA KITYANA อยู่ในวงศ์ PAPILIONEAE เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกสีม่วง ประโยชน์ทางยา รางจืด มีรสเย็น ใช้ถอนพิษและยาเบื่อเมา ใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้และพิษทั้งปวง รากและเถากินเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษร้อนทั้งปวง ซึ่งคนทั่วไปจะรู้จักและคุ้นเคยกับต้นรางจืดเป็นอย่างดี และนิยมปลูกในบริเวณบ้านแพร่หลาย เพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้น

ดีปลี ปลูกกินผลเป็นยา
ดีปลี เป็นพืชสวนครัวชนิดหนึ่ง ที่ยุคสมัยก่อนนิยมปลูกในบริเวณบ้านกนแพร่หลาย สามารถใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง รสชาติเผ็ดร้อนเหมือนกับพริกไทยอ่อน ใช้ปรุงอาหารจำพวกแกงเผ็ด แกงคั่ว ช่วยดับกลิ่นคาว ผลสดเคี้ยวกินเป็นผักเคียงได้ ยอดอ่อนใส่ข้าวยำปักษ์ใต้ ผลสดตำเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องเทศและเครื่องแกงชนิดต่าง ๆ ชาวต่างชาตินิยมกันมาก ปัจจุบัน ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกกันแล้ว คนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จักดีปลี จะมีปลูกเฉพาะตามสวนสมุนไพรใหญ่ ๆ เพื่อใช้ทำยาไม่กี่แห่ง เชื่อว่า ถ้าไม่รณรงค์ให้ปลูกกัน อีกไม่นานดีปลีต้องสูญพันธุ์อย่างแน่นอน
ดีปลี หรือ PIPER CHAB HUNT หรือ LONG PEPPER, PIPER RELTROFRACTU VAHL. อยู่ในวงศ์ PIPERACEAE เป็นไม้เถาเลื้อย มีรากฝอยออกบริเวณข้อช่วยยึดเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อ รูปรีกว้าง ปลายใบแหลม โคนมน สีเขียวสด เวลาปลูกให้ต้นหรือเถาเลื้อยตามหลักหรือซุ้ม จะมีใบหนาแน่นน่าชมยิ่ง สามารถเลื้อยหรือได้ไกล 3 – 5 เมตร
ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกเพศที่ง่ามใบและปลายยอด ดอกเป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1 – 2 นิ้ว ดอกชูตั้งขึ้น มีดอกขนาดเล็กเบียดกันแน่น ผล เป็นผลสด สีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสเผ็ดร้อน ฉุนแรง มีดอกและผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง มีต้นขายที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ทักวันพุธ – พฤหัสบดี บริเวณโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์”
ประโยชน์ทางสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ผลแก่จัดแต่ยังสุก ตากแห้ง เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยใช้ผล 1 กำมือ หรือ ประมาณ 10 – 15 ผล ต้มเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ผลยังใช้เป็นยาแก้ไอ โดยเอาผลแห้ง ครึ่งผลฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือป่นเล็กน้อย จิบบ่อย ๆ อาการจะหายได้ น้ำมันหอมระเหยและสาร PIPERINE พบว่าสารสกัด “เมทานอล” มีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้เล็กและสารสกัด “ปิโตรเลียมอีเธอร์” ทำให้สัตว์ทดลองแท้ง ดังนั้น สตรีมีครรภ์จึงควรระวัง
ใบ แก้เส้นสุมนา (เส้นศูนย์กลางท้อง) ผลแก้ธาตุพิการ ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืด แก้ไอ แก้ลมวิงเวียน แก้ริดสีดวงทวาร แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคนอนไม่หลับ แก้ลมบ้าหมู แก้ปวดกล้ามเนื้อ เกาต์ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ ราก แก้เส้นอัมพฤกษ์ อัมพาตดีมาก ในต่างประเทศใช้ผลสดหรือแห้งดองเหล้าดื่มเป็นยาชูกำลัง